วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

 
>>>>สนใจปลาทองสายพันธู์ใด 
 
 
 
 
 สนใจ 
 
 
 
 
 
 
สอบถาม 
 
 
 
ให้คำปรึกษาในการเลี้ยงปลาทอง 
 
 
และ
 
  รักษาอาการป่วย     
       
 
โดย  สตีฟจ๊อบ<<<
 
 

ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้ว


ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้ว

ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้ว (Pearl Scale Goldfish) ลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมคล้ายลูกปิงปอง ส่วนหัวเล็กมาก หางยาว ลักษณะเด่นคือ มีเกล็ดนูนขึ้นมาต่างกับเกล็ดธรรมดาทั่วไปอย่างชัดเจน สีของลำตัวมักมีสีขาว สีส้ม และสีทอง



>>ปลาทองเกร็ดแก้วหัวมงกุฏลักษณะเหมือนเกร็ดแก้งหัววุ้น ต่างกันที่วุ้นบนหัวเป็นก้อนวงกลม
>>>ปลาทองเกร็ดแก้วหัววุ้นมีลุกษณะมีวุ้นปกคลุมส่วนหัว เกร็ดพองโตเรียงไล่ขนาดอย่างเป็นระเบียบเกร็ดบริเวณกลางตัว ใหญ่กว่าส่วนหัว ส่วนท้าย หลัง และท้องส่วนหลังตรง ท้องอูมเป่ง ครีบหางสั้นมี 3 หรือ 4 แฉก


โดย  สตีฟจ๊อบ
 
 
 

ปลาทองนพัธุ์หัวสิงห์

พันธุ์หัวสิงห์ (Lionhead Goldfish or Ranchu) ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้คือ ไม่มีครีบหลัง หางสั้นและเป็นครีบคู่ ที่สำคัญคือส่วนหัวจะมีก้อนวุ้นปกคลุมอยู่ ทำให้มีชื่อเรียกได้อีกหลายชื่อ เช่น Hooded Goldfish , Buffalo-head Goldfish ส่วนในญี่ปุ่นเรียก Ranchu
ในประเทศไทยเรียกกันโดยทั่วไปว่า “หัวสิงห์” เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน และนิยมจัดประกวดกันเป็นประจำ จนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นเจ้าพ่อของปลาทอง (King of The Goldfish) มีอยู่หลายชนิดที่นิยมเลี้ยง ได้แก่
สิงห์ญี่ปุ่น เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวค่อนข้างสั้น และส่วนหลังโค้งมนสวยงาม สีของลำตัวเป็นสีส้มเข้มเหลือบทองต้องตา วุ้นที่ส่วนหัวมีลักษณะเล็กละเอียดขนาดไล่เลี่ยกันและค่อนข้างหนา ครีบหางสั้นและจะยกสูงขึ้นเกือบตั้งฉากกับลำตัว ครีบก้นเป็นครีบคู่มีขนาดเท่ากัน
สิงห์จีน เป็นพันธุ์ต้นตระกูลของหัวสิงห์ มีต้นกำเนิดในจีน ลำตัวค่อนข้างยาว ส่วนหลังไม่โค้งมากนัก หางค่อนข้างยาวอ่อนลู่ หัวค่อนข้างใหญ่และมีวุ้นดกหนากว่าสายพันธุ์อื่น และทางด้านท้ายของวุ้นไม่ขรุขระ ทำให้มองเหมือนหัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว สีของลำตัวเป็นสีส้มแกมทองแต่ไม่สดมากนัก
สิงห์หัวแดง สิงห์ตันโจ ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น แต่สีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน ส่วนหัวและวุ้นจะมีสีแดง
สิงห์ตามิด สิงห์สยาม ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น แต่สีของลำตัวเป็นสีดำสนิทตลอดลำตัว แม้กระทั่งวุ้นก็เป็นสีดำ วุ้นค่อนข้างดกหนาจนปิดลูกตาแทบมองไม่เห็น
สิงห์ห้าสี ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์จีน แต่มีสีบนลำตัว 5 สีคือ สีดำ สีแดง สีขาว สีน้ำเงินและสีเหลือง เกล็ดค่อนข้างบางโปร่งใส
สิงห์เงิน ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์หัวแดง มีสีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน แต่ส่วนหัวและวุ้นจะมีสีเงินด้วย

วิธีการเลือกซื้อปลาสวยงาม

วิธีการเลือกซื้อปลาสวยงาม
 
 



วิธีการเลือกซื้อปลาสวยงาม ควรจะพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
  1. ควรเลือกซื้อปลาในเวลากลางวัน เนื่องจากจะสังเกตสีสันที่แท้จริงของปลาได้ดี แต่ในปัจจุบันการจัดตู้ปลามีความทันสมัยมากขึ้น โดยร้านขายปลาสวยงามมักจะติดหลอดไฟพวกแสงสะท้อน แล้วเปิดไว้ตลอดเวลาเพื่อทำให้เห็นปลามีสีสดใสมากกว่าที่เป็นจริง
  2. สังเกตสภาพของตัวปลา คือเลือกปลาที่ไม่มีร่องรอยความบอบช้ำ เช่นเกล็ดหลุด ครีบแหว่ง หรือมีแผลตามลำตัว เพราะอาจเป็นปลาที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากการลำเลียง หรือมีการระบาดของโรคพยาธิเกิดขึ้น ถ้าเลือกซื้อปลาที่บอบช้ำมาเลี้ยงอาจเกิดการติดเชื้อต่างๆ ได้ ยิ่งถ้ามีการระบาดของโรคพยาธิอยู่แล้ว ปลาที่เลือกซื้อมาก็มักจะตายหมด
  3. สังเกตลักษณะการว่ายน้ำหรือการทรงตัวของปลา ควรสังเกตว่าชนิดปลาที่จะซื้อมีลักษณะการว่ายน้ำอย่างไร เช่น พวกปลานีออน ปลาเสือสุมาตรา ปลาสอด และปลาซิวชนิดอื่นๆ มักชอบว่ายน้ำวนเวียนไปมาตลอดเวลาบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ต้องไม่เซื่องซึม ว่ายลงไปพักอยู่ที่ก้นตู้ หรือลอยตัวอยู่แต่ผิวน้ำ พวกปลาเทวดาและปลาปอมปาดัวร์ ชอบว่ายน้ำช้าๆ ลักษณะเป็นสง่า ต้องไม่ไปซุกอยู่ตามหินหรือมุมตู้
  4. สังเกตลักษณะการกางของครีบต่างๆ คือปลาปกติที่ไม่มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อหรือการเกิดโรค จะกางครีบออกเกือบตลอดเวลา แต่ปลาที่มีอาการผิดปกติ มักจะหุบครีบลู่ติดตัวไม่ค่อยกางออก
  5. สังเกตสีสันของปลา ควรสังเกตเปรียบเทียบปลาในกลุ่มเดียวกัน ปลาที่มีสีสันสดเข้มกว่า ลวดลายเด่นชัด ย่อมมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแกร่งกว่า
  6. สังเกตความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ ควรเป็นปลาที่มีอวัยวะครบถ้วนตรงตามชนิด ลำตัวโดยเฉพาะคอดหางไม่คดงอ ครีบไม่โค้งพับหรือขาดหายไป
  7. สังเกตว่าไม่มีปลาตายปะปนอยู่ในบ่อหรือตู้ปลาที่จะเลือกซื้อ หรือไม่มีปลาที่แสดงอาการติดเชื้อปะปนอยู่ นอกจากนั้นเมื่อนำปลามาปล่อยเลี้ยงในตู้ที่เตรียมไว้แล้ว หากพบว่าปลาตัวใดมีอาการผิดปกติ ควรรีบแยกปลาดังกล่าวออกไปเลี้ยงต่างหาก จนแน่ใจว่าอาการดีเป็นปกติจึงค่อยนำกลับมาปล่อยเลี้ยงในตู้ต่อไป
                                                               โดย   สตีฟจ๊อบ

ปลาทองตากลับ

              ปลาทองตากลับปลาทองสายพันธุ์นี้คัดได้ครั้งแรกที่ประเทศจีนมีลักษณะทั่วไป ส่วนหัวไม่มีวุ้นหรือมีเล็กน้อย ตาใหญ่ ตั้งอยู่บนข้างด้านหลังของส่วนหัวในลุกษณะแหงนขึ้นมองฟ้าตลอดเวลา ลำตัวยาวสันหลังตรงหรือโค้งเล็กน้อยไม่มีครีบหลัง หางลาด ครีบหางยาวและอยู่ระดับประมาณแนวสันหลัง ปลาชนิดนี้ควรเลี้ยงโดยให้อาหารสำเร็จรูป เพาะมีประสาทการดมกลิ่นที่ดีแต่ไม่สามารถไล่กินเยื่อที่มีชีวิตได้



ปลาทองแบล็กมัวร์ หรือ รักเล่ห์

สาระสำคัญ              มีลักษณะเหมือนกับปลาทองตาโปนทุกประการแต่มีสีผิวต่างกันที่ปลา รักเล่ห์ จะมีสีตำทั้งตัว ไม่เหมือนกับ ปลาทองตาโปน
 
 
โดย สตีฟจ๊อบ
คุณภาพของน้ำ
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด น้ำประปาที่ใช้เลี้ยงต้องระวังคลอรีน ควรเตรียมน้ำก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลาทุกครั้ง โดยเปิดน้ำใส่ถังเปิดฝาวางตากแดดทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนระเหย หรืออาจติดตั้งเครื่องกรองน้ำใช้สารเคมีโซเดียมไธโอซัลเฟตละลายลงในน้ำ มีคุณสมบัติในการกำจัดคลอรีน แต่ควรดูสัดส่วนในการใช้ เพราะสารเคมีพวกนี้มีผลข้างเคียงต่อปลาหากใช้ไม่ถูกวิธี
อากาศหรือออกซิเจนในน้ำ
ปลาทองส่วนใหญ่เคยชินกับสภาพน้ำที่ต้องมีออกซินเจน ดังนั้น อย่างน้อยในภาชนะเลี้ยงต้องมีการหมุนเวียนเบาๆ ไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำ เพราะการหมุนเวียนของน้ำ เป็นการทำให้เกิดการเติมออกซิเจน และปลาทองขนาดใหญ่ย่อมต้องการออกซิเจนมากกว่าปลาเล็ก ส่วนเรื่องอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมคือ 28-35 องศาเซลเซียส แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว หากซื้อปลาบรรจุถุงมา เวลาจะปล่อยปลาลงในอ่างเลี้ยง ควรแช่ถุงลงในอ่างเลี้ยง 10-15 นาที เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำในถุงกับในอ่างถ่ายเทเข้าหากันจนใกล้เคียงกัน แล้วค่อยปล่อยปลาลงไป
 
ภาชนะที่ใช้เลี้ยง
ในการเลี้ยงปลาทองให้สุขภาพแข็งแรง และมีสีสันสดใส จำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่สถานที่เลี้ยง และภาชนะที่ใช้เลี้ยง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใส และอ่างซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ใช้เลี้ยงปลาทองได้ 12 ตัว แต่ถ้าเลี้ยงในอ่างซีเมนต์ ต้องคำนึงถึงแสงสว่าง ควรเป็นสถานที่ไม่อับแสง และแสงไม่จ้าจนเกินไป ทั้งนี้ ควรใช้ตาข่ายพรางแสง ประมาณ 60% ปิดปากบ่อ ส่วนสภาพของบ่อเลี้ยงควรสร้างให้ลาดเอียง เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
 
โดย
สตีฟจ๊อบ

>>เนะนำปลาทอง 2 สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

ปลาทองโตซากิง

            ปลาทองโตซากิงคัดสายพันธุ์มาจากประเทศญี่ปุ่น ลักษณะคล้าย ริวกิ้น แต่มีจุดเด่นที่หางด้านข้างทั้งสองข้างจะแผ่ออกทำมุมฉากกับลำตัวและม้วนกับมาข้างหน้า

 

 

 

ปลาทองออรันดาหางพวง

ปลาทองออรันดาหางพวงเป็นปลาตระกูลที่มีลำตัวกลมและมีครีบหลัง เป็นปลาที่หัวไม่มีวุ้นหรือมีเล็กน้อยลำตัวค่อนข้างยาวครีบทุกครีบยาวครีบหางยาวเป็นพวง